วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Indonesia


ประเทศอินโดนีเซีย(Indonesia)
ชื่อทางการ : สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)
พื้นที่ : 1,890,754 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศหมู่เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่กว่า 17,508 เกาะ
เมืองหลวง: จาการ์ตา (Jakarat)
ประชากร: ประมาณ 220 ล้านคน ประกอบด้วย ชนพื้นที่เมืองหลากหลายกลุ่ม ซึ่งพูดภาษาต่างกันกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
ภูมิอากาศ: มีอากาศร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร ประกอบด้วย 2 ฤดูคือ ฤดูแล้ง (พฤษภาคม -  ตุลาคม)
และ  ฤดูฝน (พฤศจิกายน -  เมษายน)
ภาษา : ภาษาราชการและภาษาประจำชาติ ได้แก่ ภาษาอินโดนีเซีย หรือ Bahasa Indonesia
ศาสนา : ชาวอินโอนีเซียร้อยละ 87 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 6 นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ ร้อยละ 3.5 นับถือศาสนาคริสต์นิกายแคทอลิก ร้อยละ 1.8 นับถือศาสนาฮินดู และ ร้อยละ 1.3 นับถือศาสนาพุทธ
สกุลเงิน : รูเปียห์   ( Rupiah : IDR )
ระบอบการปกครอง : ประชาธิปไตยที่มีประธาราธิบดีเป็นประมุข และ หัวหน้าฝ่ายบริหาร
*ประธานาธิบดี คือ ดร.ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน  ( Susilo Bambang Yudhoyono)
(ตุลาคม 2547)

indomie instant noodle product from Indonesia


Company Background

            Indomie เกิดขึ้นครั้งแรกในอินโดนีเซียตั้งแต่ปี 1982 ภายใต้การผลิตโดย บริษัท PT Indofood CBP sukses makmur เป็นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่รู้จักกันเป็นครั้งแรกใช้แทนสำหรับการบริโภคข้าว ชื่อของ Indomie มาจาก Indonesia Mie ส่วนคำว่า Mie ในภาษาบาฮาซาแปลว่าก๋วยเตี๋ยว 
            Indomie อยู่ในภายใต้การดูแลของ Indofood บริษัท PT Sukses Makmur Indofood Tbk (Indofood) ก่อตั้งขึ้นในปี 1972 โดยครั้งแรกใช้ชื่อว่า Panganjaya Intikusuma ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นชื่อปัจจุบันในปี 1990 มันเป็นหนึ่งใน บริษัทที่เป็นของครอบครัว Sudono Salim ภายใต้ Salim Group
            เป็นผู้ผลิตอาหารใหญ่ที่สุดอินเดียและผลิตลิตภัณฑ์มากมาย รวมถึง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป แป้งสาลี, น้ำมันปรุงอาหาร เนยเทียม อาหารสำหรับเด็ก ขนมขบเคี้ยว และนั่นยังทำให้ Indofood เป็นผู้นำทางการตลาดของประเทศอินโดนีเซียอีกด้วย

Vision
บริษัทศูนย์รวมอาหารครบวงจร

Mission
-  ให้บริการเพื่อตอบสนองความต้องการในอาหารอย่างยั่งยืน                              
-  ปรับปรุงความสามารถของพนักงานในกระบวนการผลิตและเทคโนโลยีของเราอย่างต่อเนื่อง
-  เอื้อต่อสวัสดิการของสังคมและสิ่งแวดล้อมในลักษณะที่ยั่งยืน
      -    เพิ่มค่าผู้มีส่วนได้เสีย'อย่างต่อเนื่อง

                                            วิเคราะห์ 4 P's
Product
Indomie ทำมาจากวัตถุดิบที่คัดสรรมาเป็นอย่างดี ได้แก่ แป้งสาลีคุณภาพดีที่สุดของ Bogasari Mils แป้งเครื่องเทศและสมุนไพร•มันมีความรู้สึกของ Indomie tiap2/masing2 ที่เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดและคำนึงถึงสุขลักษณะมาก, กระบวนการผลิตตามมาตรฐานสากล และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพสูง. และยังเพิ่มเติมของแร่ธาตุและวิตามิน A, B1, B6, B12, ไนอาซินกรดโฟลิคและแร่เหล็ก



Price
ในประเทศอินโดนีเซีย, ค่าใช้จ่าย Indomie Rp.1350 หรือเทียบเท่ากับ 10 เซนต์สหรัฐต่อแพ็ค ในประเทศออสเตรเลีย 25$ AUD, และในอเมริกามีค่าใช้จ่าย $1 สำหรับสามแพค

Place
มีจำหน่ายทั้งในเอเชีย อเมริกา และยุโรปทั่วโลก ส่วนมากจะวางจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าทั่วไปและตามร้านค้าต่างๆ  



Promotion
                Indomie Seleraku คือสโลแกน หมายถึง Indomie เป็นรสชาติของฉัน Indomie มีกิจกรรมพิเศษ ที่มีชื่อเสียงมาก ซึ่งก็คือ JINGLE DARE มีการประชาสัมพันธ์จัดอีเว้นในโรงเรียน มหาวิทยาลัย และองค์กรได้มีการแข่งขัน Indomie  Jingle Dareสำหรับนักเรียนโรงเรียนมัธยม เพื่อแข่งขันกันด้านดนตรี และโฆษณาตามสื่อต่างๆก็ทำให้เป็นสากลเพื่อได้เข้าใจกันได้อย่างกว้างขวาง



 

ตัวอย่างการจัดกิจกรรม Indomie แคมเปญ Jingle Dare





สื่ออินเตอร์เนตเพื่อให้เข้าถึงข้อมูล


ตัวอย่างหน้า website http://www.indomie.com/

ตัวอย่างหน้า Fan Page Facebook >>CLick<<






Positioning Strategy

Indomie ครองครัวเรือนผู้บริโภคชาวอินโดนีเซียมานานถึง 20 กว่าปี Indomie สร้างข้อความบ่งบอกจุดยืนที่แข็งแกร่งและสื่อสารอารมณ์กับผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี ทำให้สามารถครอบครองใจของตลาดเป้าหมายได้  การสร้างกลยุทธ์การวางตำแหน่ง  Indomie คือ มาพร้อมกับความแตกต่างที่คุ้มค่าและมีประโยชน์ สำหรับทุกคน Smart Price for Anywhere, Anytime, and Anyone”


PLC (Product Life cycle)

            อินโดหมี่ได้อยู่ในขั้นของการเติมโตเต็มที่ ซึ่งเป็นที่รู้จักและประสบความสำเร็จมากแล้วในประเทศและต่างประเทศด้วย และยังมีแผนกลยุทธ์ที่มีความเหมาะสมที่จะปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่ทำให้เปลี่ยนลักษณะของผลิตภัณฑ์ มี 2 กลยุทธ์ที่เรามุ่งเน้น
            ประการแรกกลยุทธ์ของการปรับปรุงคุณภาพของวัตถุดิบ เช่น การใช้ข้าวสาลีคุณภาพสูง  อีกทั้งยังมีการดำเนินการช่วยเสริมสร้างคุณค่าทางโภชนาการ เช่น การเพิ่มโปรตีนและวิตามิน A  เพื่อป้องกันการขาดสารอาหารอย่างรุนแรง
            ประการที่สองกลยุทธ์ของการปรับปรุงรูปแบบเพื่อเพิ่มความน่าดึงดูดใจของผลิตภัณฑ์ แต่ยังคงเก็บความเป็นรสชาติดั้งเดิมไว้อยู่เช่นกัน


           อินโดนีเซีย เป็นชาติที่บริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ใหญ่ที่สุด ถูกครอบงำโดย Indomie ของเรา แต่ถึงแม้ว่า Indomie จะมีคู่แข่งในตลาดโลกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นใต้หวัน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และประเทศอื่นๆอีกมากมาย แต่ Indomie ก็สามารถเข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภค และสามารถเข้าสู่ตลาดโลกได้ในที่สุด และมีส่วนแบ่งทางการตลาดโลกมากขึ้นเรื่อยๆ นี่ก็เป็นการประสบความสำเร็จของ Indomie ในตลาดโลก
SWOT Analysis
จุดแข็ง
-        Indomie มีชื่อแบรนด์ที่แข็งแกร่ง
-        Indomie มีชื่อเสียงดีในหมู่ลูกค้า
-        บริษัท ของ Indomie ก่อตั้งมาเป็นเวลานานแล้ว จึงมีความมั่นคงและมีระบบการบริหารที่ดี
-        มีวิธีการกระจายสินค้าได้อย่างทั่วถึง
-        Indomie มีรสชาติที่แตกต่างและหลากหลาย
-        Indomie เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการผ่านกระบวนการผลิตที่ถูกสุขอนามัยอย่างมากตามมาตรฐานสากลและได้รับการสนับสนุนด้วยเทคโนโลยีที่มีคุณภาพสูง

จุดอ่อน
-        มีการแข่งขันสูงในตลาดโลก
-        ยังไม่เป็นที่รู้จักในบางประเทศ
-        มีคู่แข่งด้านอาหารสำเร็จรูปมากมาย

โอกาส
-          Indomie ได้ออกรสชาติใหม่ๆของผลิตภัณฑ์เสมอ เพื่อที่ Indomie สามารถอยู่ในตลาดต่อไป
-          สามารถมองหาการแบ่งส่วนตลาดใหม่

อุปสรรค
-          การเกิดขึ้นของผลิตภัณฑ์ทดแทน
-          การเปลี่ยนแปลงของกฎระเบียบจากรัฐบาล
-          การเปลี่ยนแปลงของความต้องการอาหารของผู้บริโภค
STP (Segmentation Targeting Positioning)

Demographic
อายุ : อายุ 5 – 50 ปี
เพศ : ชายและหญิง
สถานะ : ระดับกลางจนถึงระดับล่าง
อาชีพ : พนักงาน, พนักงาน, ครู, นักเรียน
Social Grades

C1 -- C2
Lifestyle
ผู้ที่ไม่ว่างจากทำงานและไม่มีเวลาในการปรุงอาหาร

Behavioral

รูปแบบการซื้อ-ทุกหนึ่งเดือน
 

กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายของ Indomie อายุจะอยู่ในช่วงวัย 5 -- 50 ปีเพราะในช่วงที่หลาย ๆ คนมีการใช้ชีวิตประจำวันที่วุ่นวายมากขึ้น เพื่อที่พวกเขาต้องการอาหารบางอย่างซึ่งอร่อยรวดเร็วและเหมาะกับรสนิยมของพวกเขา
Positioning
indomie ราคาที่คุ้มค่าของความอร่อย สำหรับทุกที่ ทุกเวลา และทุกคน



 
ตลาดสินค้า Indomie ในประเทศอินโดนีเซีย

                สินค้า Indomie หมายถึง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป คือบะหมี่แห้งที่กึ่งเตรียมทำมาให้แล้ว โดยปกติจะทานเมื่อได้เติมน้ำร้อนประมาณ 3-5 นาที ในปัจจุบันได้มีมากมายหลายยี่ห้อ มีทั้งชนิดซอง-ถ้วยและมีรสชาติต่างๆ มากมาย ถึงแม้ว่าผู้ผลิตส่วนใหญ่จะมาจากทวีปเอเชีย ไม่ว่า จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม ไทย เกาหลี แต่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีการนิยมทานกันในยุโรป อเมริกาเหนือ หรืออเมริกาใต้ เพราะว่าราคาที่ถูกนั่นเอง เมื่อก๋วยเตี๋ยวถูกนำมาใช้ครั้งแรกเพื่อคนของอินโดนีเซียในปี 1969 หลายคนสงสัยว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่สามารถใช้เป็นอาหารหลักได้หรือ แต่เนื่องจากของตัวเองบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปราคามีราคาค่อนข้างถูกและง่ายต่อการปรุงเพื่อรับประทานและสามารถเก็บไว้ได้นาน, Indomie จึงเติบโตอย่างรวดเร็วพร้อมกับการยอมรับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในประเทศอินโดนีเซีย ผลิตภัณฑ์ Indomie ออกรสชาติแรกเป็น Kuah Indomie รสน้ำซุป Ayamyang ซึ่งเป็นรสชาติที่คุ้นเคยและถูกปากชาวอินโดนีเซีย จากนั้นในปี 1982ยอดขายของสินค้า Indomie ได้เพิ่มขึ้นอย่างมากจึงได้มีการเปิดตัวรสแกงกะหรี่ Indomie Ayam Kuah peak ในปี 1983 สินค้า Indomieจึงเป็นที่ชื่นชอบมากโดยคนของอินโดนีเซียจนได้เปิดตัว Indomie Mi Goreng  ในที่สุด
            และ Indomie จึงเป็นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นที่รู้จักกันเป็นครั้งแรกที่ใช้แทนสำหรับการบริโภคข้าว ชื่อของ Indomie มาจาก Indonesia Mie ส่วนคำว่า Mie ในภาษาบาฮาซาแปลว่าก๋วยเตี๋ยว Indomie จึงเป็นสินค้าแบรนด์ยอดนิยมมีการเจาะตลาดไปหลายประเทศรวมทั้งสหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, อังกฤษ, ตะวันออกกลางและประเทศจีน และพลาดไม่ได้กับการเลือกบริการรสชาติที่ให้ ความหลากหลายของIndomie Goreng ที่สมบูรณ์แบบที่สุด


โอกาสทางการตลาด     
                                                                                        
                1. วิเคราะห์ขนาดของตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
                ปัจจุบันตลาดสินค้าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของอินโดนีเซียมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20ต่อปี ทั้งในด้านการผลิตและการบริโภค เนื่องจากอินโดนีเซียเป็นตลาดใหญ่มีประชากรประมาณ  240 ล้านคน โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 2,900 เหรียญสหรัฐ และประชากรร้อยละ 80 นับถือศาสนาอิสลาม ดังนั้น สินค้าอาหารแห้งเช่นพวก บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ทั้งที่อินโดนีเซียผลิตเองได้ และนำเข้า นอกจากนี้กำลังซื้อของผู้บริโภคก็มีแนวโน้มสูงขึ้น ตามความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (ปี 2011 อัตราการขยายตัวของ GDP ร้อยละ 6.0) ตลาดที่มีลู่ทางดีจะป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้สูง และรายได้ปานกลาง (Upper Middle Class) โดยผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูงคิดเป็นประมาณร้อยละ 15 ของประชากรทั้งหมด โดยเฉพาะคนจีน-อินโด ซึ่งจะอาศัยอยู่ในเมืองจาการ์ตา สุราบายา และเมืองเมดาน ที่เป็นเมืองหลักทางเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย
                    นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังเป็นตลาดที่สามารถรองรับกลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้ต่ำด้วย โดยเป็นตลาดขนาดใหญ่อันดับ 4 ของจีนที่ต้องการนำสินค้าอาหารราคาถูกมาขยายตลาดนี้ รวมทั้งยังเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการลงทุนของบริษัทอาหารข้ามชาติรายใหญ่ของโลก เช่น Danone Group จากประเทศฝรั่งเศส Nabisco International จากสหรัฐอเมริกา และ  Arnott’s Biscuit จากประเทศออสเตรเลีย  และยังเป็นตลาดที่มีการนำเข้าอาหารจากต่างประเทศเข้ามาบริโภค และนำมาผลิตเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารด้วย
อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมบะหมี่สำเร็จรูปที่ยังครองตลาดโดยบริษัทผู้ผลิตท้องถิ่น ที่สำคัญคือ กลุ่มผู้ผลิตอาหาร IndoFood Group ที่มีส่วนแบ่งการตลาดของบะหมี่สำเร็จรูปสูงถึง 70% ของมูลค่าตลาดรวม 1.09 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ ปริมาณการบริโภครวม 1 ล้านตันต่อปี ขณะที่อุตสาหกรรมเบเกอรี่และขนมอบ (Bakery and Pastry Industry) แต่เดิมเป็นของผู้ผลิตท้องถิ่นแบบดั้งเดิมรายเล็ก ๆ แต่ต่อมามีบริษัทข้ามชาติจากสิงคโปร์Breadtalkที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในตลาดนี้ที่สามารถขยายสาขาอย่างรวดเร็วด้วยระบบ แฟรนไชส์

2. วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคสินค้าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
 2.1  ด้านผลิตภัณฑ์
     เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80-85 ของอินโดนีเซีย นับถือศาสนาอิสลาม และมีรายได้น้อย จึงนิยมบริโภคสินค้าสะดวกซื้อซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนที่มีราคาถูก และผู้บริโภคส่วนใหญ่จะนิยมอาหารที่ทำมาจากแป้ง โดยมีอัตราการบริโภคแป้งสาลีสูงถึง 17.7 กิโลกรัม/คน/ปี ได้แก่ บะหมี่สดและสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว อาหารจำพวกเส้น (Pasta) ขนมปัง ขนมขบเคี้ยว ขนมอบกรอบ อาหารส่วนใหญ่ที่นิยมเป็นอาหารประเภทผัดหรือทอด (Goreng) ที่ใช้น้ำมันเป็นส่วนประกอบค่อนข้างมาก ทั้งข้าวผัด หรือ ของทอดประเภทต่าง ๆ เช่น กล้วยทอด ข้าวโพด เผือก เต้าหู้ รองลงไป คือ อาหารประเภทย่าง (สะเต๊ะ : Sate เช่น ไก่สะเต๊ะ หรือ เนื้อสะเต๊ะ)  รวมถึงอาหารประเภทต้ม เช่น SOTO ข้าวต้ม เป็นต้น                            
  
2.2 ด้านราคา
    ผู้บริโภคระดับส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านราคาเป็นหลัก เนื่องจากรายได้ที่ค่อนข้างน้อย อัตราค่าจ้างต่ำ  จึงมักเลือกซื้อสินค้าที่มีราคาถูก หรือ มีความคุ้มค่าเมื่อเทียบกับราคา ขณะที่ผู้บริโภคที่มีรายได้สูง คิดเป็นสัดส่วน 10-15 % ของประชากรทั้งหมด มีอำนาจซื้อสูงมาก จะให้ความสำคัญกับตัวผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ตราสินค้า คุณภาพ รสชาติ ความแปลกใหม่ ความทันสมัย การออกแบบของร้าน คุณประโยชน์จากสินค้า มากกว่าราคา ดังนั้น สินค้าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจึงเป็นที่ยอมรับ และมีรสชาติถูกปากของผู้บริโภคอินโดนีเซีย และตลาดโลก ส่วนใหญ่จะวางจำหน่ายในซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป


2.3 ด้านการจัดจำหน่าย
   ผู้บริโภคที่เป็นคนรุ่นใหม่ หรือ กลุ่มที่มีรายได้สูง จะนิยมบริโภคอาหารนอกบ้านตามศูนย์การค้า  และร้านอาหารทั้งที่เป็นของท้องถิ่นและสาขาต่างจากประเทศและในขณะที่คนที่มีรายได้น้อยจะนิยมบริโภคที่ร้านอาหาร  ซุ้มอาหาร หรือ รถเข็นขายอาหารขนาดเล็กตามท้องถนน สำหรับผู้ที่มีรายได้ปานกลางขึ้นไป  จะนิยมจับจ่ายสินค้าอาหารที่ ไฮเปอร์มาเก็ต (คาร์ฟูร์, ล๊อตเต้) และซุปเปอร์มาร์เก็ต (Hero, Food Hall, Diamond) ดังนั้นการจัดจำหน่ายจะกระจายไปทั่วทุกที่เพื่อการสะดวกสบายในการซื้อของผู้บริโภคเป็นหลัก

2.4 ด้านการส่งเสริมการตลาด
  ผู้บริโภคส่วนใหญ่ชอบการส่งเสริมการตลาดประเภทการลดราคา โดยผู้จำหน่ายมักนิยมลดราคาในช่วงวันหยุด เสาร์ อาทิตย์ โดยเฉพาะวันหยุดนักขัตฤกษ์ ที่มีผู้บริโภคมาเลือกซื้อสินค้าจำนวนมาก รวมถึงการจัดรายการซื้อ 1แถม 1 หรือ ซื้อ 2 ชิ้นคิดราคา 1 ชิ้น

การขยายตลาดในระดับโลก แบ่งการส่งออกตามประเทศต่างๆดังนี้
เอธิโอเปีย รวมถึงในประเทศไทยเราด้วย

บทสรุปโอกาสทางการตลาด

อินโดนีเซีย เป็นชาติที่บริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ใหญ่ที่สุด ถูกครอบงำโดย Indomie ของเรา แต่ถึงแม้ว่า Indomie จะมีคู่แข่งในตลาดโลกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นใต้หวัน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และประเทศอื่นๆอีกมากมาย แต่ Indomie ก็สามารถเข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภค และสามารถเข้าสู่ตลาดโลกได้ในที่สุด และมีส่วนแบ่งทางการตลาดโลกมากขึ้นเรื่อยๆ นี่ก็เป็นการประสบความสำเร็จของ Indomie ในตลาดโลก